ย้าย hosting ไม่ยากอย่างที่คิดเพื่อตอบโจทย์หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดที่โฮสต์เดิม

สำหรับการเปลี่ยนผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งหรือเรียกกันว่า ย้ายโฮสต์ นั้น หลายคนคงจะมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก มีข้อสงสัยต่างๆนานา เช่นตอนทำการเปลี่ยนหรือย้ายเว็บไซต์จะดาวน์ไหม(เข้าใช้งานไม่ได้) อีเมลล์จะใช้งานได้ไหม แล้วถ้าใช้งานไม่ได้เลยเมื่อไหร่จะใช้ได้ ย้ายเสร็จแล้วจะใช้งานได้เหมือนเดิมหรือเปล่า หัวข้อนี้ก็จะมาบอกตั้งแต่การเลือกโฮสต์ใหม่ การเตรียมการขั้นตอนการย้ายจนย้ายเสร็จว่าต้องทำอย่างไรบ้าง จะได้รู้กันว่าการย้ายโฮสต์ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด

เริ่มต้นด้วยการหาโฮสต์ใหม่

ในส่วนนี้ก็แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคนแต่ที่แน่ๆทุกคนก็คงต้องการหาโฮสต์ใหม่ที่ตอบโจทย์หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดที่โฮสต์เดิมจนทำให้เราต้องมาหาโฮสต์ใหม่เช่นถ้าเราต้องการเปลี่ยนโฮสต์เพราะโฮสต์เดิมราคาแพงเราก็ต้องหาโฮสต์ใหม่ที่ถูกกว่าหรือถ้าหากโฮสต์เดิมล่มบ่อย, บริการไม่ดีเราก็อยากได้โฮสต์ใหม่ที่ไม่ล่มบริการดีๆฉะนั้นในส่วนนี้ก็แล้วแต่ปัญหาของแต่ละคน แต่ที่อยากให้ข้อมูลเพิ่มเติมก็คืออยากให้ดูในเรื่องของทางเทคนิคและการใช้งานด้วย(อย่าเพิ่งตกใจไม่ใช่เรื่องทางเทคนิคที่เข้าใจยาก) โดยเราควรหาโฮสต์ใหม่ที่มีความใกล้เคียงกับโฮสต์เดิมทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์(ถ้าเป็นไปได้) ควรมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับโฮสต์เดิมหรือดีกว่าไปเลยและซอร์ฟแวร์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากเพราะถ้าเว็บเรามีการเขียนโปรแกรมไว้ใช้งานกับ database และ programming เช่น PHP ก็ควรเช็คให้แน่ใจว่าโฮสต์ใหม่ใช้เวอร์ชั่นไหนเปิด permission อย่างไรมี features ที่เราต้องการหรือเปล่าเช็คดูซอร์ฟแวร์หลักๆพวกโปรแกรมที่ใช้งานกับเว็บฯโควตาพื้นที่ในการใช้งานภาษาที่รองรับรูปแบบฐานข้อมูลโปรแกรมอีเมลล์ฯลฯเหมือนกับโฮสต์เดิมจะทำให้เรามีปัญหาน้อยที่สุดหรือไม่มีปัญหาเลยในการย้ายโฮสต์ข้อมูลเหล่านี้เราสามารถรู้ได้จากโฮสต์เดิมโดยสอบถามไปว่าเราใช้บริการอะไรกับเขาอยู่(ขอรายละเอียดเลย) และสำหรับโฮสต์ใหม่ถ้าเราดูข้อมูลเองได้ก็สามารถดูได้ที่หน้าเว็บฯของผู้ให้บริการใหม่ได้เลยแต่ถ้าเรากลัวว่าจะผิดพลาดก็มีวิธีง่ายๆเลยคือส่งข้อมูลที่โฮสต์เดิมส่งมาให้เราให้โฮสต์ใหม่ดูว่าโฮสต์เขาให้เราได้ตามนี้หรือเปล่าอย่าด่วนตัดสินใจให้หาให้ได้ใกล้เคียงที่สุดเพราะเราคงไม่อยากย้ายบ่อยๆกันแน่และอย่างที่บอกไปถ้าเราได้โฮสต์ใหม่ที่ใกล้เคียงกับโฮสต์เดิมก็จะทำให้การย้ายง่ายขึ้นมาก

การเตรียมข้อมูลทั้งUsername และPassword สำหรับการจัดการต่างๆและข้อมูลเว็บไซต์(ไฟล์เว็บไซต์) เมื่อติดต่อหรือหาโฮสต์ใหม่ได้แล้ว(อาจจะยังไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อเปิดบริการ) ในระหว่างนี้เราก็ต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องข้อมูลต่างๆสิ่งที่สำคัญในการย้ายโฮสต์คือUsername และPassword สำหรับFTP (จากโฮสต์เดิม) เพื่อดาวน์โหลดไฟล์เว็บไซต์เรา, Username และ Password สำหรับ Control panel (จากโฮสต์เดิม) เพื่อจัดการกับฐานข้อมูล(ในกรณีที่เว็บไซต์เรามีฐานข้อมูล) อีกอย่างก็เพื่อตรวจสอบรายชื่ออีเมลล์ที่เรามีการใช้งานอยู่ให้เพื่อความครบถ้วน(เนื่องจาก Control panel ส่วนใหญ่จะบริการจัดการทั้งเว็บฯฐานข้อมูลและอีเมลล์) และที่สำคัญที่สุดคือ Username และ Password สำหรับการบริหารจัดการโดเมนเนม(จากผู้ให้บริการจดโดเมนเนมที่เราไปจดไว้) เพราะโดยส่วนใหญ่จะไม่ได้จดจำหรือเก็บ Username และ Password ของโดเมนเนมเพราะนานๆจะได้ใช้และการเปลี่ยนโฮสต์ก็จำเป็นต้องเข้าจัดการโดเมนเนมด้วยโดยหากเราเตรียมข้อมูลข้างต้นนี้ครบถ้วนก็จะทำให้เราย้ายโฮสต์ได้เร็วขึ้นมาก

ขั้นตอนก่อนการย้ายโฮสต์
ก่อนอื่นอยากให้สำรองข้อมูลไว้ให้ได้มากที่สุดจัดการให้หมดทั้งไฟล์เว็บไซต์, ฐานข้อมูลและอีเมลล์โดยไฟล์เว็บไซต์และฐานข้อมูลทำได้โดยการดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม FTP หรือ Control panel แต่สำหรับอีเมลล์หากมีการใช้งานผ่าน Webmail ให้ติดตั้งการใช้งานอีเมลล์ผ่าน Email Client ต่างๆเช่น MS Outlook หรือ Outlook Express (ถ้าใช้อยู่แล้วก็ข้ามส่วนนี้ไป) เพื่อให้โปรแกรมเหล่านี้ทำการดาวน์โหลดอีเมลล์มาเก็บไว้ที่เครื่องของเจ้าของอีเมลล์เองเนื่องจากการย้ายโฮสต์เราจะไม่สามารถย้ายเนื้อหาในอีเมลล์ได้
หลังจากนั้นก็ถึงเวลาที่จะหาวันที่จะทำการย้ายโฮสต์(ส่วนนี้ให้จ่ายเงินที่โฮสต์ใหม่ให้เรียบร้อยก่อนไม่งั้นคงเริ่มย้ายไม่ได้) โดยเริ่มโดยการตรวจสอบการใช้งานดูว่าเว็บฯเรามีการใช้งานน้อยที่สุดช่วงไหนทั้งจากตัวเราเองและการเข้าชมเว็บฯเพื่อจะได้ย้ายโฮสต์ในช่วงวันและเวลานั้นๆจากนั้นนัดแนะกับคนอื่นๆ(ถ้าเป็นบริษัทหรือองค์กรใหญ่ๆอาจทำเป็นจดหมายเวียนแจ้งหรือส่งอีเมลล์แจ้ง) ที่ใช้งานเว็บไซต์หรืออีเมลล์ว่าเราจะทำการย้ายโฮสต์ในวันและเวลาใดเพื่อไม่ให้มีการใช้งานในช่วงเวลาดังกล่าว(ในกรณีมีฐานข้อมูลต้องหยุดใช้งานก่อนล่วงหน้าเพื่อเก็บข้อมูลล่าสุดก่อนย้ายและไม่ให้เกิดการบันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูลระหว่างการย้ายโฮสต์)

ขั้นตอนการย้าย
เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมก็ลงมือย้ายโฮสต์ตามวันและเวลาที่นัดหมายได้เลยโดยการดาวน์โหลดไฟล์เว็บไซต์และฐานข้อมูล(ถ้ามี) ลงมาเก็บไว้ที่เครื่องคอมฯเราจากนั้นทำการอัพโหลดไฟล์เว็บไซต์และฐานข้อมูล(ถ้ามี) จากคอมฯเราไปไว้บนโฮสต์ใหม่โดยผ่านการ FTP เช่นกันสำหรับอีเมลล์ให้ทำการสร้างรายชื่ออีเมลล์ทั้งหมดที่เคยมีการใช้งานที่โฮสต์เดิมไว้บนโฮสต์ใหม่โดยส่วนใหญ่จะสร้างผ่าน Control panel หลังจากนั้นให้ลองตรวจดูว่าย้ายไฟล์เว็บฯเรียบร้อยหรือเปล่าโดยการตรวจสอบผ่าน Virtual Directory เพื่อให้มั่นใจว่าเราได้ย้ายไฟล์เว็บฯมาครบ(คลิกดูไปเรื่อยๆถ้าเป็นไปได้ให้ดูทุกหน้าว่าเว็บฯสมบูรณ์หรือเปล่า) ถ้าเราทำทุกอย่างถูกต้องเว็บฯเราบนโฮสต์ใหม่จะต้องเหมือนกับเว็บฯที่อยู่บนโฮสต์เดิมทั้งหมด

สุดท้ายคือเปลี่ยนค่า DNS ของโดเมนเนมเราให้เป็นค่า DNS ของโฮสต์ใหม่เข้าระบบจัดการโดเมนเนมและเปลี่ยนค่า DNS ไปตามที่โฮสต์ใหม่แจ้งมาซึ่งในการเปลี่ยน DNS แต่ละครั้งจะต้องใช้เวลาในการอัพเดท(ให้โดเมนเนมเรารู้จักกับโฮสต์ใหม่) ประมาณ1-2 วันหลังจากนั้นโดเมนเนมของราจึงจะมาใช้งานร่วมกับโฮสต์ใหม่อย่างสมบูรณ์หลังจากนั้นเราควรจะตรวจสอบซ้ำอีกครั้งเพื่อความมั่นใจว่าการย้ายเสร็จสมบูรณ์

ข้อแนะนำคือการย้ายโฮสต์ควรดำเนินการในระหว่างที่บริการโฮสต์เดิมยังไม่สิ้นสุดการใช้งานซึ่งวิธีนี้จะทำให้ในระหว่างการย้ายโฮสต์เว็บไซต์ของเราจะยังคงใช้งานได้ปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่รอ DNS update อย่างสมบูรณ์จะมีผู้เข้าชมเว็บจาก ISP บางรายไปที่เว็บใหม่บางรายไปที่เว็บเก่ารวมถึงอีเมลล์ด้วยสิ่งที่ต้องทำคือ

1. ทำหน้า redirect จาก host เดิมไปที่โฮสต์ใหม่เพื่อความมั่นใจว่าทุกคนไปที่เว็บใหม่หมด
2. ทำ forwarding emails ที่โฮสต์เก่าไปที่อื่นก่อนเช่น Hotmail หรือหมั่นกลับเข้าไปเช็ค email ผ่านทางหน้า WebMail ที่โฮสต์เก่า (ในกรณีที่เข้าได้โดยไม่ต้องใช้ domain ของเรา) เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มี emails ตกค้างอยู่ที่เก่า

This entry was posted in โฮสติ้ง and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.